วันพฤหัสบดีที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2553

ใบน้อยหน่า ฆ่าเหาได้จริงหรือ??

#3โครงงานวิทยาศาสตร์


โครงงาน ใบน้อยหน่ากำจัดเหา


สมมุติฐานของการศึกษาค้นคว้า
ใบน้อยหน่าเมื่อผสมกับปูนกินหมากจะเกิดปฏิกิริยาเคมี ทำให้เหาเมาและตายในที่สุด
ตัวแปรการที่เกี่ยวข้อง
1. ตัวแปรต้น - ใบน้อยหน่า
2. ตัวแปรตาม - ความสามารถในการกำจัดเหา
3. ตัวแปรควบคุม - ปริมาณใบน้อยหน่า
- ปริมาณปูนกินหมาก
- ปริมาณน้ำ
- จำนวนเหา
- เวลา
ขอบเขตการศึกษาค้นคว้า
ศึกษาและทดลองใบน้อยหน่าผสมกับปูนกินหมาก ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 / 2 – 3 / 9 โรงเรียนเทศบาลบ้านคูหาสวรรค์
เอกสารที่เกี่ยวข้อง
ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับใบน้อยหน่า
น้อยหน่า ( Castard apple )
ชื่อวิทยาศาสตร์ Annona Squamosa linn
วงศ์ ANNONA CEAE
ชื่อท้องถิ่น น้อยแน่ (ภาคใต้) มะนอแน่ มะแน่ ( ภาคเหนือ) มะออจ้า
มะโอล่า (เงี้ยว-ภาคเหนือ) ลาหนัง (ปัตตานี) หน่อเกล๊าะแซ
(เงี้ยว-แม่ฮ่องสอน) บักเขียบ (ภาคอีสาน)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
- ต้น เป็นพรรณไม้ยืนต้นขนาดเล็กแตกกิ่ง ก้านสาขาออกเป็นก้านเล็ก ๆ ไม่ใหญ่โตมากนัก ผิวเกลี้ยง สีเทาอมน้ำตาล ลำต้นสูงประมาณ 8 เมตร
- ใบ เป็นใบเดี่ยวเรียงสลับกันไปตามข้อต้น ใบเป็นรูปรี ปลายและ โคนใบ แหลม ใบกว้างประมาณ 1-2.5 นิ้ว ยาว 3-6 นิ้ว สีเขียว ก้านใบยาว 0.5 นิ้ว
- ดอก ออกดอกเดี่ยว ๆ อยู่ครามงามใบ ลักษณะดอกจะห้อยลง มีอยู่ 2 ชั้น ชั้นละ 3 กลีบ ชั้นในกลีบดอกจะสั้นกว่าชั้นนอก มีสีเหลือง อมเขียว กลีบเลี้ยงมี 3 กลีบ เกสรกลางดอกจะมีจำนวนมาก
- ผล ออกเป็นลูกกลม ๆ ป้อม ๆ โตประมาณ 3-4 นิ้ว มีผิวขรุขระเป็นช่องกลมนูนในแต่ละช่องนั้นภายในมีเนื้อสีขาว และมีเมล็ดสีดำ หรือสีน้ำตาลเข้ม เนื้อในทานได้มีรสหวาน เปลือกผลสีเขียว ถ้าสุกตรงขอบช่องนูนนั้นจะออกสีขาว เปลือกผลสีเขียว บีบดูจะนุ่ม

การขยายพันธุ์ เมล็ดฤดูกาลเก็บส่วนที่ขยายพันธุ์ ช่วงฤดูฝนสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมในการเจริญเติบโต เป็นพรรณไม้ที่ขึ้นได้ดีในดินทุกชนิด
การใช้ประโยชน์
1. ทางอาหาร ยอดอ่อน หั่นฝอย ใช้ผัดหรือใส่แกง
2. ทางยา ผลนำมาใช้ 2 อย่าง คือ
- ผลดิบจะเป็นยาแก้พิษงู แก้ฝีในคอ กลากเกลื้อน ฆ่าพยาธิ ผิวหนัง
- ผลแห้ง แก้งูสวัด เริม แก้ฝีในหู
- เมล็ด ฆ่าพยาธิตัวจี๊ด ฆ่าเหา และแก้บวม
- ราก เป็นยาระบาย ทำให้อาเจียน ถอนพิษเบื่อเมา
- ใบ ขับพยาธิลำไส้ ฆ่าเหา แก้กลากเกลื้อน
- เปลือกต้น เป็นยาสมานลำไส้ สมานแผล แก้ท้องร่วง แก้รำมะนาด แก้พิษงู
ฤดูกาลที่ใช้ประโยชน์ ช่วงฤดูฝน
ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ ในใบและเมล็ดน้อยหน่ามีสารเคมีชื่อ Anonanine ส่วนในเมล็ดมีน้ำมันอยู่ประมาณ 45 % ประกอบด้วย Organic acid หลายชนิด Resin Steroids Alkaloid และอื่น ๆ ส่วนที่เป็นเมล็ด
ในสารอัลคาลอย ชื่อ Anonaine มีประสิทธิภาพในการป้องกันกำจัดหนอนใยผัก ฆ่าเพลี้ยจักจั่น มวนเขียว แมลงวัน ตั๊กแตน มอดแป้ง แมลงวันทอง และ เหา
จากการศึกษาวิจัยใบและเมล็ดน้อยหน่ามีสรรพคุณในการฆ่าเหา ในปี พ.ศ. 2523 อรนุช บัวพัฒนกูล และคณะ ได้ศึกษาโดยนำน้ำยาที่คั่นได้จากเมล็ดน้อยหน่าบดคั่นกับน้ำมันมะพร้าว ในอัตราส่วน 1:2 และ 1:4 ใบน้อยหน่าคั่นกับน้ำมันมะพร้าวในอัตราส่วน 1:2 ได้ผลดีที่สุด สามารถฆ่าเหาได้ถึง 98 % ในเวลา 2 ชั่วโมง แต่ต้องระวังไม่ให้เข้าตาจะเกิดอาการอักเสบ ขณะนี้โรงพยาบาลชุมชนหลายแห่งรณรงค์ฆ่าเหาในเด็กนักเรียน โดยใช้เมล็ดและใบน้อยหน่าได้ผลดีมาก และประหยัดค่าใช้จ่าย เป็นพืชสมุนไพรที่สมควรใช้งานสาธารณสุขมูลฐานเป็นอย่างยิ่ง
วิธีใช้
ใบสดและเมล็ดน้อยหน่าใช้ฆ่าเหา โดยนำเอาเมล็ดน้อยหน่าประมาณ 10 เมล็ด หรือใบสดประมาณ 1 กำมือ (15 กรัม) ตำให้ละเอียด ผสมกับน้ำมันมะพร้าว 1 –2 ช้อนโต๊ะ ขยี้ให้ทั่วศีรษะ แล้วใช้ผ้าคลุมโพกไว้ประมาณครึ่งชั่วโมง และสระผมให้สะอาด (ระวังอย่าให้เข้าตา จะทำให้แสบตา ตาอักเสบได
โรคเหา ( PEDICULOSIS ) ผู้ที่มีเหาเกิดจากได้รับตัวเหาหรือไข่เหาจากการคลุกคลีหรือใช้เสื้อผ้า เครื่องใช้ของคนที่เป็น มีอาการคันศีรษะ เป็นมากตอนกลางคืน บางคนถึงกับนอนไม่หลับ พักผ่อนไม่เพียงพอ ถ้าเกามาก ๆ จะทำให้หนังศีรษะถลอกเป็นแผลได้.
สาเหตุ เกิดจากจากปรสิตชนิดหนึ่งที่เรียก ตัวเหา (LOUSE) ที่พบบ่อยคือ เหาบนศีรษะอุบัติการณ์ พบบ่อยในเด็กผู้หญิงเนื่องจากผมยาว และมักเป็นกับเด็กเล็ก
ลักษณะโรค เมื่อไข่เหาและตัวเหาอาศัยอยู่ที่ผมและหนังศีรษะ จะทำให้คันและเกา ถ้าเกามากอาจทำให้เกิดแผลพุพองที่หนังศีรษะ ผู้ที่เป็นจะมีความรำคาญและขาดสมาธิในการเรียนการติดต่อ ติดต่อโดยตรงจากผู้ที่เป็นเหาโดยการเล่นหรือคลุกคลีกันอย่างใกล้ชิด หรือติดจากเสื้อผ้า เครื่องใช้ต่าง ๆ เช่น หวี ติดต่อง่ายจากเด็กนักเรียนคนหนึ่งสู่ อีกคนหนึ่งและแพร่กระจายไปติดคนอื่น ๆ ที่บ้าน หรือจากที่บ้านมาสู่โรงเรียนวน เวียนกันอยู่เช่นนี้ ระยะของโรค ไข่เหามีขนาด 08. x 0.3 มม. สีขาวปนเทา จะฟักตัวโดยอาศัยความอบอุ่นของร่างกาย กลายเป็นตัวอ่อนในระยะ 5-9 วัน และอาศัยอยู่บนศีรษะดูดเลือดเป็นอาหารและภายใน 2 สัปดาห์ ตัวเหาจะออกไข่ได้อีกระยะติดต่อ ผู้ที่มีเหาจะแพร่เหาให้แก่ผู้อื่นได้เสมอ จนกว่าตัวหาและไข่เหาจะถูกทำลายไปหมด
การรักษา
1. ใช้ 1.2 % Benzyl benzoate emulsion ทาผม และหนังศีรษะทิ้งไว้ 8-12 ชั่วโมง จึงล้างออก อาจใช้ Gamma benzene hexachloride solution แทนแต่ไม่ควรใช้ในเด็กเล็ก
2. รักษาอาการแทรกซ้อน เช่น การอักเสบของผิวหนัง
3. รักษาทุกคนที่เป็นพร้อมกัน ทั้งที่บ้านและที่โรงเรียน
4. รักษาความสะอาดของร่างกายและเสื้อผ้า ปลอกหมอน ผ้าปูที่นอน โดยการซัก ต้ม หรือผึ่งแดด
การป้องกัน
1.ตัดผมให้สั้น
2. หมั่นสระผมบ่อย ๆ
3. ไม่ใช้ของใช้ต่าง ๆ ร่วมกัน เช่น หวี ปลอกหมอน ผ้าปูที่นอน หรือเสื้อผ้า เป็นต้น
4. ไม่เล่นคลุกคลีหรือนอนร่วมกันกับผู้ที่กำลังเป็นเหา
อุปกรณ์และวิธีการทดลอง
1. สถานที่ทำการทดลอง
- ห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ โรงเรียนเทศบาลบ้านคูหาสวรรค์
2. อุปกรณ์และวัสดุที่ใช้ในการทดลอง
- ใบน้อยหน่าแก่ๆ 1,700 ใบ
- ปูนกินหมาก 8.8 กรัม
- น้ำ 3.5 ลิตร
- เครื่องบด
- กระชอน
- กะละมัง
- ชุดทำความสะอาดผม 1 ชุด
- กล้องถ่ายรูป


3. วิธีดำเนินการทดลอง
- นำใบน้อยหน่าแก่ ๆ 1,700 ใบ กับปูนกินหมาก 8.8 กรัมและน้ำ 3.5 ลิตร
- นำส่วนผสมใส่ในเครื่องบดแล้วบดให้ละเอียด
- นำส่วนผสมที่บดมากรองในกระชอนใส่ในกะละมัง
- นำสารละลายพักทิ้งไว้ประมาณ 10 นาที นำสารสกัดใบน้อยหน่าและเทน้ำสกัดใบน้อยหน่าเก็บไว้ในขวด
- ล้างทำความสะอาดอุปกรณ์และเก็บอุปกรณ์ให้เรียบร้อย
วิธีการทดลอง
1. เตรียมนักเรียนที่เป็นโรคเหาของชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 12 คน
2. ให้แต่ละคนใช้สารสกัดใบน้อยหน่าที่เตรียมไว้ นำไปขยี้ผมให้ทั่วศีรษะ โดยให้เพื่อนในห้องเรียนเป็นผู้ช่วย หมักทิ้งไว้ 30 นาที (ระวังอย่าให้น้ำยาเข้าตาเพราะทำให้แสบตาได้)
3. ใช้น้ำล้างออกให้สะอาด (ผมที่สระเสร็จจะทำให้เส้นผมกระด้างบ้าง ควรใช้ครีมนวดผมสระอีกครั้ง)
4. ทำเช่นนี้อีก 2 ครั้ง ในแต่ละครั้งจะห่างกันประมาณ 1 อาทิตย์
5. บันทึกผลการเปลี่ยนแปลงทุกครั้งเพื่อนำมาเปรียบเทียบกัน
สรุปผลการทดลองครั้งนี้
นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3/2-ป.3/9 จำนวน 84 คน เมื่อใช้สารสกัดจากใบน้อยหน่า ครั้งที่ 1 ถึง ครั้งที่ 5 ผลการทดลองครั้งที่ 1 จะมีอาการโรคเหา โดยเฉพาะตัวเหาจะตายไปบ้าง ส่วนไข่เหาจะมีเปลือกแข็งหุ้มจะไม่ตาย ผลการทดลองครั้งที่ 2 แม่เหาจะตายมากขึ้น ส่วนไข่เหาก็จะค่อย ๆ ลีบเนื่องจากไข่เหาจะเริ่มออกลูกตัวอ่อนออกมา สำหรับการทดลองครั้งที่ 3 ส่วนใหญ่แม่เหาจะตายเพิ่มขึ้น และไข่เหาจะลีบมากขึ้น ผลการทดลองครั้งที่ 4 แม่เหาจะตายหมดสำหรับนักเรียนบางคน ไข่เหาจะลีบเกือบหมดผลการทดลองครั้งที่ 5 ตัวเหาจะตายส่วนมาก และไข่เหาจะลีบหมด
สรุปได้ว่า สารสกัดจากใบน้อยหน่าสามารถรักษาโรคเหาได้.
สรุปผลการทดลองและอภิปรายผลการทดลอง
สรุปผลการทดลอง
จากการทดลองใช้สารสกัดใบน้อยหน่าในการรักษาโรคเหา มีผลการสรุปดังนี้คือเพื่อนนักเรียนหญิง ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3/2-ป.3/9 จำนวน 84 คนนั้น สามารถรักษาอาการของโรคเหาได้ 74 คน มีนักเรียนส่วนน้อย จำนวน 14 คน ยังมีอาการโรคเหาอีก ที่บ้านของนักเรียนมีสมาชิกในบ้านเป็นโรคเหาด้วย และจากการทดลองแต่ละครั้ง นักเรียนบางคนใช้เวลาในการขยี้และหมักผมไว้ไม่ตรงตามเวลาที่กำหนดไว้ ทำให้มีโรคเหาอีกไม่สามารถกำจัดได้ แต่ผลการทดลองนักเรียนส่วนมากไม่เป็นโรคเหาอีก ดังนั้นใบน้อยหน่าสามารถกำจัดโรคเหาได้.


อภิปรายผลการทดลอง
จากการทดลองใช้สารสกัดสมุนไพรจากใบน้อยหน่าในการกำจัดเหา ผลปรากฏว่าสอดคล้องกับการศึกษาของ อรนุช บัวพัฒนกุล และคณะ จากหนังสือยาสมุนไพรสาธารณสุขมูลฐาน หนังสือผักพื้นบ้านภาคใต้ ที่ว่า “ใบน้อยหน่ามีสรรพคุณในการฆ่าเหา เนื่องจากในสารใบน้อยหน่ามีสารเคมีชื่อ Anonanine เมื่อทำปฏิกิริยากับปูนกินหมาก ซึ่งมีความร้อน ทำให้เหาเมาและตายในที่สุด.
ประโยชน์ของโครงงาน
3.1 สามารถรักษาโรคเหาให้กับเพื่อนนักเรียนหญิงชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ได้
3.2 สามารถนำพืชสมุนไพรในท้องถิ่นมาใช้ประโยชน์อย่างคุ้มค่าและถูกวิธี
3.3 เป็นการประหยัดค่าใช้จ่ายในการซื้อสารเคมีกำจัดเหา
3.4 เป็นการรักษาสุขภาพร่างกายให้ปลอดภัยจากสารเคมี
ข้อเสนอแนะ
4.1 ในการทดลองครั้งต่อไปควรจะทดลองใช้ใบน้อยหน่ากับน้ำมันมะพร้าว
4.2 ในการทดลองครั้งต่อไปควรจะทดลองใช้เมล็ดน้อยหน่ากับน้ำมันมะพร้าวบ้าง
4.3 ในการทดลองครั้งต่อไปควรเปรียบความสามารถในการกำจัดเหาของใบน้อยหน่ากับเมล็ดน้อยหน่าบ้าง
4.4 ในการทดลองครั้งต่อไปควรใช้สมุนไพรชนิดอื่น ๆ บ้าง
4.5 ในการทดลองครั้งต่อไปควรจะขยายผลการทดลองให้นักเรียนชั้น อนุบาลถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
เอกสารอ้างอิง
สำนักงานคณะกรรมการสาธารณสุขมูลฐาน สำนักงานปลัดกระทรวง สถาบันการแพทย์แผนไทย
กรมการแพทย์ ศูนย์ฝึกอบรมและพัฒนาการสาธารณสุขมูลฐาน ภาคเหนือ
“ยาสมุนไพรในงานสาธารณสุขมูลฐาน” หน้า 5,22,126-127 โรงพิมพ์
องค์การ์ทหารผ่านศึก กรุงเทพฯ , 2537.
สถาบันการแพทย์แผนไทย กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข “ผักพื้นบ้านภาคใต้” หน้า105,
เมษายน 2542 โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก กรุงเทพฯ
วัชรีพร คงวิลาด และคมสัน หุตะแพทย์ “คู่มือพึ่งตนเอง สมุนไพรสามัญประจำบ้าน
ปรุงยาสมุนไพรไว้ใช้เอง “ หน้า10 พิมพ์ครั้งที่ 2 มิถุนายน 2544 กองบรรณาธิการ
วารสารเกษตรกรรมธรรมชาติ กรุงเทพฯ
กรมอนามัยโรงเรียน กรมอนามัย “การป้องกันโรคติดต่อในโรงเรียน” หน้า 102-103
โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก กรุงเทพฯ.
ภูมิปัญญาท้องถิ่นชาวบ้าน 2 คน คือ
1. นางผล รัตนชู
2. นางวรรณา ถ้วนถวิล

3 ความคิดเห็น:

  1. สุดยอดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดด ^^

    ตอบลบ
  2. ตอบหน่อยสารที่อยู่ในน้อยหน่าที่สามารถฆ่าเหาได้คือสารใด

    ตอบลบ
  3. น่ารักที่สุดเลย นิดหน่อยและน้องต้อย แห่งนาวง

    ตอบลบ

แกะ แพะ (GAT PAT) คืออะไร??? ตอนที่ 2 !

GAT PAT คืออะไร จะเตรียมตัวอย่างไรเพื่อเข้ามหาวิทยาลัย ปี 2553
GAT PAT ระบบสอบเข้ามหาวิทยาลัย ปี 2553
เนื่องจากสำนักทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (สทศ.) เปิดเผยถึงการจัดสอบความถนัดทั่วไป (General Aptitude Test หรือ GAT) และความถนัดเฉพาะด้าน/วิชาการ (Professional A Aptitude Test หรือ PAT) เพื่อใช้เป็นคะแนนในการนำไปสอบระบบกลางการรับนิสิต นักศึกษา หรือแอดมิชชั่นส์กลางว่า ตามที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) มีมติว่าการสอบแอดมิชชั่นส์ปี 2553 นั้นจะใช้สัดส่วนคะแนนดังนี้
1. ปี 2553 ทปอ. จะใช้องค์ประกอบต่อไปนี้ในการยื่น คะแนนเข้ามหาวิทยาลัย
1) GPAX 6 ภาคเรียน 20 %
2) O-NET (8 กลุ่มสาระ) 30 %
3) GAT 10-50 %
4) PAT 0-40 %
รวม 100 %
หมายเหตุ
1. GPAX คือ ผลการเรียนเฉลี่ย สะสม 6 ภาคเรียนทุกกลุ่มสาระการเรียน รู้
2. GAT คือ General Aptitude Test ความถนัดทั่วไป
3. PAT คือ Professional Aptitude Test ความถนัดเฉพาะ วิชาชีพ
2.รายละเอียดเกี่ยว กับ GAT
1. เนื้อหา
- การอ่าน เขียน คิดวิเคราะห์และการแก้โจทย์ ปัญหา(ทาง คณิตศาสตร์) 50%
- การสื่อสารด้วยภาษา อังกฤษ 50%
2. ลักษณะข้อสอบ GAT จะเป็นปรนัย และอัตนัย
- คะแนนเต็ม 200 คะแนน เวลาสอบ 2 ชั่วโมง
- ข้อสอบ เน้น Content Free และ Fair
- เน้นความซับ ซ้อน (Complexity) มากกว่า ความยาก
- มีการออกข้อสอบเก็บไว้เป็นคลังข้อ สอบ
3. จัดสอบปีละหลายครั้ง
- คะแนนใช้ได้ 2 ปี เลือกใช้คะแนนที่ดีที่สุด (จะสอบ ตั้งแต่ม. 4 ก็ได้)
3. รายละเอียดเกี่ยว กับ PAT
1. PAT มี 6 ชุด คือ
PAT 1 วัดศักยภาพทางคณิตศาสตร์
เนื้อหา เช่น Algebra, Probability and Statistics, Conversion,Geometry, Trigonometry,Calculus ฯลฯ
ลักษณะข้อสอบ Perceptual Ability, Calculation skills, Quantitative Reasoning, Math Reading Skills

PAT 2 วัดศักยภาพทางวิทยาศาสตร์
เนื้อหา ชีววิทยา, เคมี, ฟิสิกส์, Earth Sciences, environment, ICT ฯลฯ
ลักษณะข้อสอบ Perceptual Ability, Sciences Reading Ability,Science Problem Solving Ability ฯลฯ
PAT 3 วัดศักยภาพทางวิศวกรรม ศาสตร์
เนื้อหา เช่น Engineering Mathematics, EngineeringSciences,Life Sciences, IT ฯลฯ
ลักษณะข้อสอบ Engineering Aptitude i.e. Multidimensional Perceptual Ability, Calculation Skills, Engineering Reading Ability, Engineering Problem Solving Ability
PAT 4 วัดศักยภาพทางสถาปัตยกรรมศาสตร์
เนื้อหา เช่น Architectural Math and Science ฯลฯ
ลักษณะข้อสอบ Space Relations, Multidimensional Perceptual Ability, Architectural Problem Solving Ability ฯลฯ

PAT 5 วัดศักยภาพทาง ครุศาสตร์/ ศึกษาศาสตร์
เนื้อหา ความรู้ในเนื้อหาภาษา ไทย คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ สังคม วิทยา มานุษยวิทยา สุขศึกษา ศิลปะ สิ่งแวดล้อม ฯลฯ
ลักษณะข้อสอบ ครุ ศึกษา (Pedagogy), ทักษะการอ่าน (Reading Skills),ความรู้ทั่วไปเกี่ยว กับการศึกษาของประเทศไทย การแก้ปัญหาที่เกิดจากนัก เรียน ครู ผู้บริหารโรงเรียน ฯลฯ
PAT 6 วัดศักยภาพทางศิลปกรรมศาสตร์
เนื้อหา เช่น ทฤษฎีศิลปะ (ทัศนศิลป์ ดนตรี นาฏศิลป์) ความรู้ทั่วไปทาง ศิลป์ ฯลฯ
ลักษณะข้อสอบ ความคิดสร้าง สรรค์ ฯลฯ
"อย่างไรก็ตาม มีข้อเรียกร้องจากสมาคมฝรั่งเศสที่เสนอขอให้ ทปอ.จัดสอบเรื่องภาษาที่ 2 ด้วย ได้แก่ ภาษาฝรั่งเศส เยอรมัน จีน และญี่ปุ่น เพื่อเป็นการวัดคุณภาพของเด็ก โดยจะขอให้เพิ่มเป็น PAT 7 และย่อยลงไปเป็น 7.1 , 7.2 ตามลำดับ แต่ ทปอ.เสนอว่าให้ทางสมาคมจัดสอบล่วงหน้าก่อนได้และให้กำหนดในเงื่อนไขแอดมิชชั่นว่าผู้ที่จะสอบในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องกับภาษาเหล่านี้จะต้องผ่านการสอนวัดความรู้ด้วย อย่างไรก็ตาม ถ้าหากมีการมาเพิ่มเป็น PAT 7 สทศ.ก็ต้องมาทำการทบทวน PAT ทั้ง 6 ใหม่ ซึ่งก็จะยุ่งยากอีก"ศ.ดร.อุทุมพร กล่าวและว่า สำหรับข้อสอบ PAT นั้นได้เชิญอาจารย์ทีเชี่ยวชาญในแต่ละด้านมาเป็นผู้ออกข้อสอบ โดย สทศ.จะอธิบายความต้องการ วัตถุประสงค์การออกให้ทราบ และเมื่ออาจารย์ออกข้อสอบเสร็จแล้วก้จะนำเข้าคลังข้อสอบในรอบแรกก่อนนำมาเข้ากระบวนการกลั่นกรองเพื่อเข้าคลังข้อสอบของ สทศ. ใหม่อีกครั้ง
2. ลักษณะข้อสอบ PAT จะเป็นปรนัย และอัตนัย
- คะแนนเต็มชุดละ 200 คะแนน เวลาสอบชุดละ 2 ชั่วโมง
- เน้นความซับ ซ้อน (Complexity) มากกว่า ความยาก
- มีการออกข้อสอบเก็บไว้ในคลังข้อ สอบ
3. จัดสอบเมื่อนักเรียนอยู่ชั้น ม.6 โดยจัดสอบปีละ 2 ครั้ง
- คะแนนใช้ได้ 2 ปี เลือกใช้คะแนนที่ดีที่ สุด
ขณะนี้ ทปอ.ได้มอบหมายให้ สทศ.เป็นผู้จัดสอบ GAT และ PAT ซึ่งในส่วนของ GAT มีการทดลองรูปแบบการสอบแล้ว โดยจะใช้การสอบทั้งแบบปรนัยและอัตนัย ใช้เวลา 3 ชั่วโมง 300 คะแนน โดยนักเรียนสามารถสอบได้ 2-3 ครั้ง และเลือกคะแนนสอบครั้งที่ดีที่สุดไปใช้ โดยคะแนนจะเก็บไว้ได้ 2 ปี แต่เด็กต้องเสียค่าใช้จ่ายในการสอบเอง ซึ่งคาดว่าจะเริ่มสอบได้ประมาณเดือนตุลาคม 2551 หรืออาจต้นปี 2552 เพื่อให้ใช้ทันแอดมิชชั่นปี 2553

ติดต่อรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่นี่


แกะ แพะ (GAT PAT) คืออะไร??? ตอนที่ 1 !

GAT ย่อมาจาก General Aptitude Test เป็นการทดสอบความถนัดทั่วไป เพื่อวัดศักยภาพของนักเรียนที่จะเรียนมหาวิทยาลัย โดยข้อสอบจะเน้นวิเคราะห์เป็นหลัก

เนื้อหา -> การอ่าน เขียน คิดวิเคาระห์และการแก้โจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์ 50% -> การสื่อสารด้วยภาษาอังกฤษ 50%
ลักษณะข้อสอบ GAT จะเป็นแบบปรนัยและอัตนัย -> คะแนน 300 คะแนน เวลาสอบ 3 ชั่วโมง -> ข้อสอบเน้น Content Free และ Fair -> เน้นความซับซ้อน (Complexity) มากกว่าความยาก -> มีการออกข้อสอบเก็บไว้เป็นคลังข้อสอบ
จัดสอบปีละ 3 ครั้ง (มีนาคม , กรกฎาคม, ตุลาคม ) -> คะแนนใช้ได้ 2 ปี เลือกใช้คะแนนที่ดีที่สุด (สอบได้ตั้งแต่ม.4)

===================================================
http://www.yenta4.com/webboard/upload_images/1196056_7038015.jpg

PAT ย่อมาจาก Professional Aptitude Test เป็นการสอบวัดความถนัดเฉพาะทางวิชาชีพ แบ่งเป็นทั้งหมด 6 ชุด ประกอบด้วย
PAT 1 วัดศักยภาพทางคณิตศาสตร์ -> เนื้อหา เช่น Algebra, Probability and Statistics, Conversion, Geometry, Trigonomentry, Calculus ฯลฯ -> ลัษณะข้อสอบ Perceptual Ability, Calculation skills, Quantitative Reasoning, Math Reading Skills
PAT 2 วัดศักยภาพทางวิทยาศาสตร์ -> เนื้อหา ชีววิทยา, เคมี, ฟิสิกส์, Earth Sciences, Environment, ICT ฯลฯ -> ลักษณะข้อสอบ Perceptual Ability, Sciences Reading Ability, Science Problem Solving Ability ฯลฯ
PAT 3 วัดศักยภาพทางวิศวกรรมศาสตร์ -> เนื้อหา เช่น Engineering Mathematics,Engineering Sciences, Life Sciences, IT ฯลฯ -> ลักษณะข้อสอบ Engineering Aptitude i.e. Multidimensional Preceptual Ability, Calculation Skills, Engineering Reading Ability, Engineering Problem Solving Ability
PAT 4 วัดศักยภาพทางสถาปัตยกรรมศาสตร์ -> เนื้อหา เช่น Architectural Math and Sciences ฯลฯ -> ลักษณะข้อสอบ Space Relations, Multidimensional Perceptual Ability, Architectural Problem Solving Ability
PAT 5 วัดศักยภาพทางครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ -> เนื้อหา เช่น ความรู้ในเนื้อหาภาษาไทย คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ สังคมวิทยา มานุษยวิทยา สุขศึกษา ศิลปะ สิ่งแวดล้อม ฯลฯ -> ลักษณะข้อสอบ ครุศาสตร์ (Pedagogy), ทักษะการอ่าน (Reading Skills), ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการศึกษาของประเทศไทย การแก้ปัญหาที่เกิดจากนักเรียน ครู ผู้บริหารโรงเรียน ฯลฯ
PAT 6 วัดศักยภาพทางศิลปกรรมศาสตร์ -> เนื้อหา เช่น ทฤษฎีศิลปะ (ทัศนศิลป์ ดนตรี นาฏศิลป์) ความรู้ทั่วไปทางศิลป์ ฯลฯ -> ลักษณะข้อสอบ ความคิดสร้างสรรค์ ฯลฯ
PAT 7 วัดศักยภาพทางภาษาต่างประเทศที่ 2 -> เนื้อหา จะเป็นพื้นฐานการเรียนต่อ เช่น Grammar, Vocabulary Culture, Pronunciation Functions -> ลักษณะข้อสอบ Paraphasing, Summarizing Applying Concepts and Principles, Problem Solving skills, Critical Thinking skills, Questioning skills, Analytical skills
ลักษณะข้อสอบ PAT - จะเป็นปรนัย และอัตนัย - เน้นความซับ ซ้อน (Complexity) มากกว่า ความยาก - มีการออกข้อสอบเก็บไว้ในคลังข้อ สอบ
จัดสอบ - เมื่อนักเรียนอยู่ชั้น ม.6 โดยจัดสอบปีละ 2 ครั้ง - คะแนนใช้ได้ 2 ปี เลือกใช้คะแนนที่ดีที่ สุด
================================================

Admission คืออะไร
Admission คือ ระบบกลางการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา ( Central University Admissions System: CUAS) หรือระบบแอดมิสชั่นส์กลาง ที่ใช้ทำการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาปีการศึกษา 2549 แทนระบบเอ็นทรานซ์ที่ใช้อยู่เดิม โดยมีองค์ประกอบเพื่อใช้เป็นเกณฑ์ในการพิจารณาคัดเลือกผู้สมัครเข้าศึกษาในมหาวิทยาลัยดังนี้
1. ผลการเรียนเฉลี่ยสะสมตลอดหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนปลาย หรือเทียบเท่า ( GPAX) ให้ค่าน้ำหนัก 10%2. ผลการเรียนเฉลี่ยสะสมตลอดหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนปลายตามกลุ่มสาระการเรียนรู้ (GPA) 3-5 กลุ่มจาก 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ โดยในปีการศึกษา 2549 ให้ค่าน้ำหนัก 20% ในปีการศึกษา 2550 ให้ค่าน้ำหนัก 30% และในปีการศึกษา 2551 ให้ค่าน้ำหนัก 40% 3. ผลการทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติขั้นพื้นฐาน ( Ordinary National Educational Test : O-NET) ประกอบด้วยกลุ่มสาระการเรียนรู้ 5 กลุ่มสาระการเรียนรู้ ได้แก่ ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม โดยในปีการศึกษา 2549 ให้ค่าน้ำหนักรวมไม่เกิน 35-70%, ในปีการศึกษา 2550 ให้ค่าน้ำหนักรวมไม่เกิน 30-60% และในปีการศึกษา 2551 ให้ค่าน้ำหนักรวมไม่เกิน 25-50% 4. ผลการทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติขั้นสูง ( Advanced National Educational Test : A-NET) และ/หรือวิชาเฉพาะไม่เกิน 3 วิชา โดยในปีการศึกษา 2549 ให้ค่าน้ำหนักรวมไม่เกิน 0-35%, ในปีการศึกษา 2550 ให้ค่าน้ำหนักรวมไม่เกิน 0-30% และในปีการศึกษา 2551 ให้ค่าน้ำหนักรวมไม่เกิน 0-25%
ทั้งนี้องค์ประกอบที่ 1 และ 2 จะต้องถ่วงน้ำหนักโดยผลสอบ O-NET เป็นรายบุคคลก่อนนำไปใช้ โดยสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติจะเป็นผู้จัดสอบ O-NET และ A-NET

================================================

จำนวนที่เปิดรับ 110,586 รับตรง = 66,317 Admission = 44,269
รับตรง = 60% ดังนั้น มาเตรียมความพร้อมก่อนสอบตรงดีกว่า
การเตรียมความพร้อมและเทคนิคในการสอบตรง
การสอบตรงในปัจจุบันประกอบด้วย 3 รูปแบบหลักแบบที่ 1 ผ่านคุณสมบัติ -> สอบข้อเขียน -> สอบสัมภาษณ์ + ดู Portfolioแบบที่ 2 ผ่านคุณสมบัติ -> สอบข้อเขียน + O-NET, A-NET -> สอบสัมภาษณ์ + ดู Portfolioแบบที่ 3 ผ่านคุณสมบัติ -> สอบสัมภาษณ์ + ดู Portfolio
คุณสมบัติ ในการสอบตรง มหาวิทยาลัยจะพิจารณานักเรียนที่มีคุณสมบัติและความสามารถตรงกับความต้องการของคณะหรือสาขาเพื่อที่นักเรียนจะประสบความสำเร็จในการเรียนและการทำงานต่อไป
การสอบข้อเขียน ข้อสอบในการสอบตรงของแต่ละมหาวิทยาลัยนั้นจะแตกต่างกันออกไปขึ้นอยู่กับว่าโครงการนั้นต้องการนักเรียนที่มีความสามารถด้านใด เช่น สอบตรงนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยก็จะต้องการนักเรียนที่มีความสนใจด้านกฎหมาย มีความสามารถในการจับใจความ
การสอบสัมภาษณ์ โดยส่วนมากจะเป็นลักษณะการสอบสัมภาษณ์ทางวิชาการและการสอบสัมภาษณ์เพื่อประเมินความพร้อมและความสนใจในคณะหรือสาขา ของมหาวิทยาลัยนั้นๆ การสอบสัมภาษณ์ทางวิชาการ จะเป็นการถามตอบเชิงวิชาการ ลักษณะข้อสอบเหมือนข้อสอบอัตนัยโดยข้อสอบจะเป็นเนื้อหาเกี่ยวกับพื้นฐานในการศึกษาต่อในระดับมหาวิทยาลัย ดังนั้น นักเรียนต้องเตรียมพร้อมโดยศึกษารายละเอียดรายวิชาที่ต้องเรียนของคณะหรือสาขานั้น การสอบสัมภาษณ์เพื่อประเมินความพร้อมความสนใจ จะเป็นการสอบเพื่อวัดความพร้อมและความสนใจของนักเรียนว่ามีความสนใจที่จะเข้าเรียนมากน้อยเพียงไร คำถามที่มักพบบ่อยเช่น "ทราบหรือไม่ว่าคณะนี้เรียนเกี่ยวกับอะไร?"
Portfolio อีกสิ่งหนึ่งที่สำคัญและนักเรียนจะต้องเตรียมไปในวันสอบสัมภาษณ์ คือ แฟ้มสะสมงานหรือ Portfolio ซึ่งจะเป็นส่วนช่วยให้คณะกรรมการพิจารณาคัดเลือกได้ง่ายขึ้น ที่สำคัญ "คุณภาพสำคัญกว่าปริมาณ" ต้องเป็นผลงานที่เกี่ยวข้องกับคณะหรือสาขาที่เรากำลังจะไปสัมภาษณ์จึงจะดีที่สุด

TearEX คืออะไร ?!?

TearEX (เทียร์ - เอ๊กซ์)คือ..
กลุ่มสมาชิกสหพันธ์การพัฒนาเทคโนโลยี และ กลุ่มนักเรียน แห่งประเทศไทย
ประวัติ
พ.ศ.2550 มีการจัดตั้ง TearEX ขึ้นเปลี่ยนจาก Logo Emperor มาเป็น TearX
พ.ศ.2551 เปลี่ยนแปลงใหม่เป็น TerEX เมื่อ พ.ศ.2551