วันพฤหัสบดีที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2552

โครงงานใหม่กำลังจะมา...เร็วๆนี้ครับ

กำลังทำการคิดโครงงานใหม่

วันพฤหัสบดีที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2552

ทำสบู่ได้ด้วยตัวคุณเอง #2

โครงงานเรื่อง วิธีการทำสบู่

จุดประสงค์ : เพื่อให้ผู้ที่ต้องการศึกษาสามารถทำสบู่ และ สร้างรายได้ด้วยตนเอง

สาระการเรียนรู้ที่เกี่ยวข้อง : วิทยาศาสตร์ (เคมี)


ส่วนประกอบหลัก


1. ไขมันหรือน้ำมัน ไขมันหรือน้ำมัน ทั้งจากสัตว์และจากพืชหลากหลายชนิด สามารถนำมาเป็นส่วนผสมในการผลิตสบู่ได้ กรดไขมันนี้จะรวมตัวกับสารอื่น อยู่ในรูปของกลีเซอไรด์ เมื่อนำด่างเข้ามาผสมและทำปฏิกิริยากับกรดไขมันจะหลุดออกจากกลีเซอไรด์ มารวมตัวกันเป็นสบู่ สารที่เกาะอยู่กับกรดไขมันก็จะออกมาเป็นกลีเซอรีน น้ำมันแต่ละชนิดก็จะให้สบู่ที่มีคุณสมบัติแตกต่างกันออกไป กรดไขมันแต่ละชนิดเมื่อรวมตัวกับด่างแล้ว จะให้สบู่ที่มีคุณสมบัติแตกต่างกัน เช่น กรดลอริก (lauric acid) มีมากในน้ำมันมะพร้าว เป็นกรดไขมันที่ทำปฏิกิริยากับด่างแล้วให้สารที่มีฟองมาก เป็นต้น ดังนั้นจึงควรศึกษาคุณสมบัติของสบู่ที่ได้จากไขมันต่างชนิดกัน ดังนี้ ตาราง คุณสมบัติ – อายุการใช้งานของน้ำมันแต่ละชนิด ชื่อน้ำมัน คุณสมบัติ อายุการใช้งาน น้ำมันมะกอก สบู่ที่ได้จะเป็นก้อนแข็ง มีฟองครีมนุ่มนวล มีคุณค่าในการบำรุงผิวมาก มากกว่าสามเดือน น้ำมันงา สบู่ที่ได้จะนิ่ม มีค่าการชำระล้างปากกลาง แต่มีวิตามินอีสูงมาก แต่อาจมีกลิ่นที่บางคนไม่ชอบ มากกว่าสามเดือน น้ำมันมะพร้าว สบู่ที่ได้จะมีก้อนแข็ง มีฟองครีมนุ่มนวลจำนวนมาก แต่ไม่ควรใช้เกิน 30% เพราะมีค่าการชำระล้างสูง อาจทำให้ผิวแห้ง มากกว่าสามเดือน น้ำมันรำข้าว สบู่ที่ได้จะนิ่ม ค่าการชำระล้างปานกลาง แต่มีวิตามินอีมาก เหมาะสำหรับบำรุงผิว มากกว่าสามเดือน น้ำมันถั่วเหลือง สบู่ที่ได้จะนิ่ม ค่าการชำระล้างปานกลาง แต่มีวิตามินอีมาก มีคุณสมบัติช่วยให้ผิวยืดหยุ่นได้ดี เป็นน้ำมันอายุสั้น ทำสบู่แล้วควรใช้ให้หมดภายในสามเดือน น้ำมันเมล็ดทานตะวัน สบู่ที่ได้จะนิ่ม ค่าการชำระล้างปานกลาง มีวิตามินอีมาก เป็นน้ำมันอายุสั้น ทำสบู่แล้วควรใช้ให้หมดภายในสามเดือน น้ำมันปาล์ม สบู่ที่ได้จะเป็นก้อนแข็ง มีฟองปานกลาง ค่าการชำระล้างสูง ควรใช้ไม่เกิน 30% เพราะอาจทำให้ผิวแห้ง มากกว่าหกเดือน ไขมันวัว สบู่ที่ได้จะเป็นก้อนแข็ง มีฟองปานกลาง ค่าการชำระล้างสูง เหมาะสำหรับผสมทำสบู่สำหรับซักล้าง มากกว่าหกเดือน ไขมันหมู สบู่ที่ได้จะมีสีขาวและนิ่ม มีฟองน้อย ค่าการชำระล้างปานกลาง มีคุณสมบัติในการบำรุงผิว มากกว่าสามเดือน

2. ด่าง ชนิดของด่างที่ใช้ มี 2 ชนิด - โซเดียมไฮดรอกไซด์ หรือโซดาไฟ (Sodium hydroxide) ใช้สำหรับทำสบู่ก้อน - โปแตสเซียม ไฮดรอกไซด์ (Potassium hydroxide) ใช้สำหรับทำสบู่เหลว จากตาราง แสดงปริมาณด่างที่ใช้ต่อไขมัน 100 กรัม ภายหลังทำปฏิกิริยาจะมีไขมันเหลือประมาณร้อยละ 5 - 8 อย่างไรก็ดี อาจมีความผิดพลาดเนื่องจากการใช้มาตราชั่ง ตวง วัด และปัจจัยการผลิตอื่น ๆ หรือวิธีการผลิตอื่น ที่ทำให้ปริมาณด่างเหลือมากกว่าที่คำนวณไว้ จึงจำเป็นต้องควบคุมคุณภาพ โดยการวัด pH ทุกครั้งที่ผลิตและหลังจากสบู่แข็งตัวแล้ว ตาราง ปริมาณด่างที่ทำปฏิกิริยากับไขมัน จำนวน 100 กรัม สบู่ที่ได้มีไขมันประมาณ 5 – 8 % ที่ ชื่อน้ำมัน โซดาไฟ (กรัม) โปตัสเซียม ไฮดรอกไซด์ (กรัม) 1 ปาล์ม 13.06 18.32 2 มะพร้าว 16.92 23.74 3 ละหุ่ง 11.83 16.59 4 มะกอก 12.46 17.48 5 งา 12.66 17.76 6 ถั่วเหลือง 12.46 17.48 7 รำข้าว 12.33 17.30 8 เมล็ดทานตะวัน 12.56 17.62 9 ขี้ผึ้ง 6.17 10 ไขมันวัว 12.92 18.12 11 ไขมันหมู 12.76 17.90 12 ไขมันแพะ 12.72 17.85

3. น้ำ น้ำที่ใช้ทำสบู่ได้ต้องเป็นน้ำอ่อน ถ้าเป็นนำกระด้างจะทำให้สบู่ไม่เกิดฟอง น้ำที่เหมาะในการทำสบู่มากที่สุดคือน้ำฝน ปริมาณน้ำที่ใช้ในการทำปฏิกิริยาเป็นปัจจัยสำคัญ เพราะหากใช้น้ำมากต้องทิ้งไว้หลายวัน สบู่จึงจะแข็งตัว น้ำน้อยเกินไปอาจทำให้ปฏิกิริยาไม่สมบูรณ์ หากใช้ไขมันแต่ละชนิดรวมกันแล้ว 100 กรัม ควรให้น้ำประมาณ 35-38 เปอร์เซ็นต์ หรือเพิ่มตามสัดส่วน

4. ส่วนผสมเพิ่มเติมในสบู่ - บอแร็กซ์ ...สารบอแร็กซ์นี้ไม่จำเป็นต้องใช้ก็ได้ ...แต่สารนี้ช่วยให้สบู่มีสีสันสวยงามและทำให้เกิดฟองมาก... มีจำหน่ายตามร้านขายยาหรือร้านขายของชำ มีชื่อเรียกว่า ผงกรอบ หรือผงนิ่ม ส่วนใหญ่บรรจุในถุงพลาสติก - น้ำหอม.น้ำหอมก็ไม่มีความจำเป็นต้องใช้เช่นกัน แต่ถ้าใช้จะทำให้สบู่มีกลิ่นดีขึ้น ถ้าไขมันที่ทำสบู่นั้นเหม็นอับใช้น้ำมะนาวหรือน้ำมะกรูดผสมจะช่วยให้กลิ่นหอมยิ่งขึ้นและไม่เน่า - สารกันหืน การผลิตสบู่ไว้ใช้เอง ซึ่งใช้หมดในระยะเวลาสั้น จำเป็นต้องใส่สารกันหืนเมื่อต้องการเก็บไว้เป็นเวลานาน - สมุนไพร ใช้เพิ่มเติมเพื่อประโยชน์ต่อผิวหนังตามคุณสมบัติของสมุนไพรนั้นๆ
วิธีการเติมสมุนไพรลงในสบู่ มี 2 วิธี คือ
1.เติมในระหว่างกระบวนการทำสบู่ วิธีการนี้ ผู้ผลิตควรเติมสมุนไพรหลังจากกวนส่วนผสมของสบู่ เสร็จเรียบร้อยแล้ว การเติมควรเติมสมุนไพรก่อนเทสบู่ลงแบบ เป็นวิธีที่เหมาะสำหรับสมุนไพรประเภทสกัดเป็นผงแอลกอฮอล์ และสกัดด้วยน้ำมัน

☻ ทำสบู่พื้นฐานขึ้นมาก่อน แล้วนำมาหลอมใหม่ หลังจากนั้นจึงเติมสมุนไพรลงไป วิธีนี้เรียกว่า "การทำสบู่สองขั้นตอน" เหมาะสำหรับสมุนไพรที่สกัดด้วยการคั้นหรือการต้ม สัดส่วนการเติมสมุนไพรลงในสบู่

☻ สมุนไพรผง ควรเติมในปริมาณ 1-5% ของน้ำหนักสบู่

☻ สมุนไพรที่สกัดด้วยน้ำต้มหรือน้ำคั้น ควรเติมในปริมาณ 10% ของน้ำหนักสบู่ และต้องลดในส่วนของน้ำที่ใช้ละลายด่างออกในปริมาณที่เท่ากัน

☻ สมุนไพรที่สกัดด้วยแอลกอฮอล์ ควรเติมได้ไม่เกิน 10% ของน้ำหนักสบู่ และหักลดในส่วนของน้ำที่ใช้ละลายด่างในปริมาณที่เท่ากัน เช่นเดียวกันกับสมุนไพรที่สกัดด้วยน้ำมัน - สารเพิ่มคุณภาพสบู่ ส่วนใหญ่เติมเพื่อให้ความชุ่มชื้น นั้นก็คือกลีเซอรีน ซึ่งในอุตสาหกรรมขนาดใหญ่จะแยกเกล็ดสบู่และกลีเซอรีนไว้ ในกรณีนี้ผู้ผลิตสบู่เอง ไม่จำเป็นต้องเติม กลีเซอรีน เพราะมีอยู่แล้วในสบู่ แต่หากต้องการคุณสมบัติเพิ่มขึ้น ก็อาจเติมได้ 5-10% เครื่องมืออุปกรณ์ในการผลิต อาจใช้อุปกรณ์ที่มีอยู่มาประยุกต์ใช้ได้ทุกชิ้น ยกเว้นในขั้นตอนที่จะต้องสัมผัสกับโซดาไฟ ทุกขั้นตอนภาชนะที่ใช้ต้องหลีกเลี่ยงชนิดที่เป็นโลหะ หรืออลูมิเนียมเพราะอาจเกิดการกัดกร่อนเสียหายทั้งภาชนะและคุณสมบัติบางประการของสบู่ ควรจะใช้ประเภทหม้อเคลือบสแตนเลสหรือแก้วทนไฟแทน


ซึ่งอุปกรณ์ที่จำเป็นแยกได้ดังนี้
1. หม้อสแตนเลส 2 ใบ (ไว้สำหรับตุ๋นน้ำมัน)
2. เทอร์โมมิเตอร์ 2 อัน (อุณหภูมิ 100 องศาเซลเซียส)
3. ไม้พาย 1 อัน
4. ทัพพี 1 อัน (สำหรับตักสบู่)
5. ถ้วยตวงแก้ว 1 ใบ (สำหรับผสมสารละลายโซดาไฟ)
6. ถาดใส่น้ำ 1 ใบ (สำหรับหล่อที่ใส่สารละลายโซดาไฟให้อุณหภูมิลดลง)
7. เหยือก 1 ใบ (สำหรับใส่สารสะลายโซดาไฟที่อุ่นลงแล้ว)
8. แท่งแก้ว (สำหรับกวนโซดาไฟ)
9. เตาไฟฟ้า หรือเตาแก๊ส
10. เครื่องชั่งขนาด 1-2 กิโลกรัม
11. ถุงมือ,แว่นตา,เสื้อคลุม,ที่ปิดจมูก
12. แม่พิมพ์สบู่ ใช้กล่องไม้ หรือ กระดาษแข็งรอด้วยกระดาษไข หรือพลาสติด
13. อื่น ๆ ผ้าเช็ดมือ , กระดาษทิชชู ,กระดาษหนังสือพิมพ์ใช้แล้ว, กระดาษวัดค่า pH

การตั้งสูตรสบู่
1. คัดเลือกไขมัน ที่ใช้ตามวัตถุประสงค์ที่ต้องการ ส่วนใหญ่จะนิยมใช้ไขมันตั้งแต่ 2 ชนิดขึ้นไป ตั้งสัดส่วน ปริมาณไขมันแต่ละชนิด
2. คัดเลือกชนิดด่าง ตามวัตถุประสงค์ เช่น ต้องการทำสบู่ก้อนใช้โซดาไฟ ทำสบู่เหลวใช้ โปรตัสเซียมไฮดรอกไซด์
3. คำนวณปริมาณด่าง ที่ใช้สูตร โดยน้ำหนักไขมันแต่ละชนิดมาคำนวณปริมาณด่างโซเดียม ไฮดรอกไซด์ที่ใช้ แล้วเอามารวมกันเป็นปริมาณรวมดังตัวอย่าง ตัวอย่างวิธีคำนวณ น้ำมันมะพร้าว 120 กรัม ใช้โซดาไฟ 20.304 (16.92*120/100) กรัม น้ำมันปาล์ม 80 กรัม ใช้โซดาไฟ 10.448 (13.06*80/100) กรัม น้ำมันมะกอก 300 กรัม ใช้โซดาไฟ 37.38 (12.46*300/100) กรัม รวมไขมัน 500 กรัม รวมโซดาไฟ 68.132 กรัม
4. คำนวณปริมาณน้ำที่ใช้ จากหลักข้อกำหนดปริมาณไขมัน 100 กรัม ควรใช้น้ำ 35 - 38 กรัม ฉะนั้น จากตัวอย่างสูตร จึงควรใช้น้ำ 175 - 190 ซีซี.

วิธีการและเทคนิคการผลิตสบู่
1. เตรียมแม่พิมพ์สบู่
2. เตรียมเครื่องมือทั้งหมด
3. ผู้ผลิตใส่เสื้อกันเปื้อน สวมถุงมือ ผ้าปิดปากและจมูก และแว่นตา
4. ชั่งด่างอย่างระมัดระวัง
5. ชั่งน้ำที่ใช้ ค่อย ๆ เติมด่างลงในน้ำอย่างช้า ๆ ระวังไม่ให้กระเด็น คนจนละลายหมด วัดอุณหภูมิ ประมาณ 40-50 องศาเซลเซียส
6. ชั่งไขมันทั้งหมดผสมรวมรวมกัน วางบนเครื่องอังไอน้ำหรือตุ๋น วัดอุณหภูมิประมาณ 40 - 45 องศาเซลเซียส ยกลง
7. เช็คอุณหภูมิน้ำด่างในข้อ 5 อีกครั้ง
8. เมื่ออุณหภูมิน้ำด่างและไขมันใกล้เคียงกัน ค่อยเทน้ำด่างลงในไขมัน คนเบา ๆ เมื่อเทน้ำด่างหมด ให้คนแรง ๆ ควรคน 15 นาที พัก 5 นาที จนกระทั่งเนื้อของเหลวเป็นสีขุ่นจนหมด เทลงแบบพิมพ์
9. ทิ้งไว้ 1 สัปดาห์ แกะออกจากพิมพ์ ตัดเป็นก้อน
10. ตรวจสอบ pH บริเวณผิวสบู่ และเนื้อในสบู่บริเวณต่ำกว่าผิวประมาณ 2 มิลลิเมตร ถ้ามีค่า pH อยู่ระหว่าง 8 - 10 สามารถนำไปใช้ได้ หากมีค่าเกิน 10 เฉพาะที่บริเวณผิว ให้ตัดเฉพาะผิวนอกทิ้ง หากเนื้อในและผิวมีค่า pH เกิน 10 ทั้งสองบริเวณ แสดงว่าสบู่นั้นมีปริมาณด่างเกินกำหนด ไม่ควรนำไปใช้ เพราะอาจเกิดอันตรายทำให้ผิวเหี่ยว ซีด หรือคัน เมื่อสัมผัส
11. ห่อกระดาษ หรือบรรจุภาชนะแจกจ่ายในชุมชน

ข้อควรระวังในการผลิตสบู่
1. เพื่อความปลอดภัยของผู้ผลิต ควรสวมถุงมือยาง รองเท้า กางเกงขายาว เสื้อแขนยาว ใส่ผ้าปิดปาก ปิดจมูก และแว่นตา ขณะที่ทำการผลิตสบู่
2. อุปกรณ์ทุกชนิดที่ใช้ ห้ามใช้วัสดุ อะลูมิเนียม ดีบุก สังกะสี หรือโลหะอื่น ๆ นอกจากที่แนะนำ เพราะโลหะเหล่านี้ จะทำปฏิกิริยากับโซดาไฟ เป็นอันตรายแก่ผู้ผลิตหรือผู้ใช้
3. เลือกใช้เครื่องชั่งที่เหมาะสม เช่น ชั่งของระหว่าง 1 - 3 กก. ให้ใช้เครื่องชั่งที่รับน้ำหนักได้สูงสุด 3 กก. กรณีที่ชั่งวัตถุต่ำกว่า 1 กก. ให้ใช้เครื่องชั่งที่รับน้ำหนักได้สูงสุด 1 กก. การผลิตสบู่ก้อน ให้ชั่งส่วนผสมทั้งหมดอย่างระมัดระวัง และตรวจสอบความแม่นยำของเครื่องชั่งสม่ำเสมอ
4. การใช้เทอร์โมมิเตอร์อันเดียววัดทั้งอุณหภูมิของน้ำด่าง และไขมันนั้น ต้องล้างน้ำและเช็ดให้สะอาดทุกครั้งที่จะเปลี่ยนชนิดการวัด
5. สถานที่ผลิตควรมีอ่างน้ำ หรือถังใส่น้ำสะอาดประมาณ 10 ลิตร เพื่อใช้กรณีฉุกเฉิน เช่น น้ำด่างกระเด็นถูกผิวหนัง
6. ห้ามเด็กเล็ก อายุต่ำกว่า 12 ปี และสัตว์เลี้ยง เข้าใกล้บริเวณที่ผลิต รวมถึงการให้ความรู้ และทำความเข้าใจถึงอันตรายของสารเคมี แก่สมาชิกที่ร่วมผลิต และบุตรหลาน
7. ซื้อโซเดียมไฮดรอกไซด์ เฉพาะที่ใช้ หรือเหลือเก็บเล็กน้อยเท่านั้น เก็บไว้ให้ห่างไกลจากเด็กและสัตว์เลี้ยง หากสามารถใส่กุญแจจะเพิ่มความปลอดภัยอีกชั้นหนึ่ง ภาชนะที่ใส่ต้องปิดให้สนิท โซเดียมไฮดรอกไซด์ ที่เหลือเก็บต้องมีฉลากและวิธีการแก้ไข หรือวิธีการปฐมพยาบาลที่ภาชนะบรรจุทุกครั้ง การตรวจสอบคุณภาพและมาตรฐานสบู่ ตรวจสอบค่า pH โดยตัดชิ้นสบู่เล็กน้อย เป็นแผ่นบาง ๆ ประมาณ 5 กรัม นำมาละลายย้ำ 10 มล. จุ่มกระดาษวัด pH วัดประมาณ 30 วินาที จนสีกระดาษคงที่ นำกระดาษ pH มาเทียบกับสีมาตรฐาน ที่กล่อง ถ้าสีเหมือนกับช่องใด ซึ่งมีค่า pH กำกับไว้ ทำให้ทราบค่า pH ของสบู่ได้ เช่น ดูจากลักษณะ ภายนอก เช่น การเกิดฟอง การล้างน้ำออก การทดสอบฟอง ความนุ่มหลังจากการใช้

วิธีการแก้ไขเมื่อถูกน้ำด่าง
1. เมื่อน้ำด่างกระเด็นสัมผัสผิวหนัง หรือนัยน์ตา - หากกระเด็นถูกผิวหนังหรือร่างกาย ให้ราดบริเวณผิวที่สัมผัสด้วยน้ำส้มสายชู หรือน้ำมะนาวผสมน้ำสะอาดอย่างละเท่ากัน เพื่อทำให้โซเดียมไฮดรอกไซด์เปลี่ยนสภาพจากด่างเป็นกลาง ลดความระคายเคือง แล้วห้างด้วยน้ำเย็นหลายๆ ครั้ง จนไม่รู้สึกคัน แสบร้อน หากยังมีอาการให้ล้างน้ำต่อไปเรื่อยๆ แล้วนำส่งโรงพยาบาล - หากกระเด็นเข้าตา ให้ล้างน้ำสะอาดหลายครั้ง ตลอดเวลาที่นำส่งโรงพยาบาล
2. หากเกิดอุบัติเหตุกลืนกินโซเดียมไฮดรอกไซด์ ให้รีบดื่มนม แล้วรีบนำส่งโรงพยาบาลโดด่วน การทดสอบว่าสบู่จะดีหรือไม่ สบู่ที่ดีควรจะแข็ง สีขาว สะอาด กลิ่นดีและไม่มีรส สามารถขุดเนื้อสบู่ออกเป็นแผ่นโค้ง ๆ ได้ ไม่มันหรือลื่นจนเกินไป เมื่อใช้ลิ้นแตะดูไม่หยาบหรือสาก

วิธีการแก้ไขและการปรับปรุงสบู่ให้ดีขึ้น
1. เมื่อสบู่เป็นด่างเกินกำหนด ให้นำสบู่มาขูดเป็นฝอย ละลายใหม่ ด้วยน้ำ ครึ่งเท่าที่เคยใช้เดิม นำไปตั้งบนลังถึง ไม่ต้องคน เมื่อละลายหมด เติมกรดซิตริก คนเบาๆ วัดค่า pH จนได้ค่าตามต้องการ สบู่ที่ได้จะมีลักษณะเนื้อไม่แน่น ควรนำมาทำสบู่น้ำดีกว่า
2. ถ้าส่วนผสมไม่ข้น แสดงว่า ด่างน้อยไป แก้โดยเพิ่มด่างเข้าไปอีก เล็กน้อย แล้วกวนต่อไป
3. ส่วนผสมเป็นก้อนและแยกชั้น แสดงว่า ใช้ด่างมาก ให้เติมน้ำมันหรือกรดไขมัน ลงไปทีละน้อย แล้วตีต่อไป
4. สบู่ที่ได้เปราะ ตัดไม่สวย ให้เติมกรดไขมันหรือน้ำมันอีกตาม 5-10 เปอร์เซ็นต์
5. ถ้าสบู่ที่ผ่านขั้นตอนตามเวลาที่ทำทุกช่วงแล้ว แต่ยังมีส่วนผสมบางส่วนไม่แข็งตัวหรือแยกกันอยู่ หรือไม่ดีเพราะสาเหตุใดก็ตาม อาจแก้ไขให้ดีขึ้นดังนี้ - ตัดสบู่ออกเป็นชิ้นเล็ก ๆ ใส่ลงในหม้อที่มีน้ำมันบรรจุอยู่ 2.8 ลิตร พร้อมทั้งเทส่วนที่เป็นของเหลวที่เหลืออยู่ในแบบพิมพ์.....ลงไปด้วย - นำไปต้มนานประมาณ10นาที อาจเติมน้ำมะนาวหรือน้ำมันอื่น ๆ ที่มีกลิ่นหอมลงไปในส่วนผสมประมาณ 2 ช้อนชา.....( ถ้ายังไม่ได้เติม ) ต่อจากนั้นจึงเทส่วนผสมลงในแบบพิมพ์ใหม่อีกครั้งหนึ่ง ปล่อยไว้ 2 วัน แล้วดำเนินการตามที่.....กล่าวมา การทำสบู่จากน้ำด่างที่ได้จากขี้เถ้า เริ่มด้วยการทำน้ำด่างขึ้นเองจากขี้เถ้า สรุปแล้ว สบู่ก้อนและสบู่เหลวผสมสมุนไพร เป็นผลิตภัณฑ์จากน้ำมันพืชและน้ำมันสัตว์ ซึ่งหาได้ง่ายในท้องถิ่น ประเทศไทยสามารถผลิตเองได้ และหาซื้อได้ง่าย อีกทั้งยังมีสมุนไพรอีกมากมาย ในประเทศ วิธีการผลิตสบู่ก้อนและสบู่เหลวสมุนไพรก็ไม่ยุ่งยาก ซับซ้อน เกษตรกร ประชาชน สามารถผลิตได้ โดยไม่ต้องใช้เครื่องมือ เครื่องจักรที่มีราคาแพง


เพียงแต่ต้องฝึกฝนให้มากแล้วจะได้สบู่ที่มีคุณภาพ และสามารถส่งออกมาได้ในราคาสูงเป็นการเพิ่มรายได้ ช่วยเศรษฐกิจและยกระดับคุณภาพชีวิต ได้อีกทางหนึ่งด้วย

วันพฤหัสบดีที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

แกะ แพะ (GAT PAT) คืออะไร??? ตอนที่ 2 !

GAT PAT คืออะไร จะเตรียมตัวอย่างไรเพื่อเข้ามหาวิทยาลัย ปี 2553
GAT PAT ระบบสอบเข้ามหาวิทยาลัย ปี 2553
เนื่องจากสำนักทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (สทศ.) เปิดเผยถึงการจัดสอบความถนัดทั่วไป (General Aptitude Test หรือ GAT) และความถนัดเฉพาะด้าน/วิชาการ (Professional A Aptitude Test หรือ PAT) เพื่อใช้เป็นคะแนนในการนำไปสอบระบบกลางการรับนิสิต นักศึกษา หรือแอดมิชชั่นส์กลางว่า ตามที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) มีมติว่าการสอบแอดมิชชั่นส์ปี 2553 นั้นจะใช้สัดส่วนคะแนนดังนี้
1. ปี 2553 ทปอ. จะใช้องค์ประกอบต่อไปนี้ในการยื่น คะแนนเข้ามหาวิทยาลัย
1) GPAX 6 ภาคเรียน 20 %
2) O-NET (8 กลุ่มสาระ) 30 %
3) GAT 10-50 %
4) PAT 0-40 %
รวม 100 %
หมายเหตุ
1. GPAX คือ ผลการเรียนเฉลี่ย สะสม 6 ภาคเรียนทุกกลุ่มสาระการเรียน รู้
2. GAT คือ General Aptitude Test ความถนัดทั่วไป
3. PAT คือ Professional Aptitude Test ความถนัดเฉพาะ วิชาชีพ
2.รายละเอียดเกี่ยว กับ GAT
1. เนื้อหา
- การอ่าน เขียน คิดวิเคราะห์และการแก้โจทย์ ปัญหา(ทาง คณิตศาสตร์) 50%
- การสื่อสารด้วยภาษา อังกฤษ 50%
2. ลักษณะข้อสอบ GAT จะเป็นปรนัย และอัตนัย
- คะแนนเต็ม 200 คะแนน เวลาสอบ 2 ชั่วโมง
- ข้อสอบ เน้น Content Free และ Fair
- เน้นความซับ ซ้อน (Complexity) มากกว่า ความยาก
- มีการออกข้อสอบเก็บไว้เป็นคลังข้อ สอบ
3. จัดสอบปีละหลายครั้ง
- คะแนนใช้ได้ 2 ปี เลือกใช้คะแนนที่ดีที่สุด (จะสอบ ตั้งแต่ม. 4 ก็ได้)
3. รายละเอียดเกี่ยว กับ PAT
1. PAT มี 6 ชุด คือ
PAT 1 วัดศักยภาพทางคณิตศาสตร์
เนื้อหา เช่น Algebra, Probability and Statistics, Conversion,Geometry, Trigonometry,Calculus ฯลฯ
ลักษณะข้อสอบ Perceptual Ability, Calculation skills, Quantitative Reasoning, Math Reading Skills

PAT 2 วัดศักยภาพทางวิทยาศาสตร์
เนื้อหา ชีววิทยา, เคมี, ฟิสิกส์, Earth Sciences, environment, ICT ฯลฯ
ลักษณะข้อสอบ Perceptual Ability, Sciences Reading Ability,Science Problem Solving Ability ฯลฯ
PAT 3 วัดศักยภาพทางวิศวกรรม ศาสตร์
เนื้อหา เช่น Engineering Mathematics, EngineeringSciences,Life Sciences, IT ฯลฯ
ลักษณะข้อสอบ Engineering Aptitude i.e. Multidimensional Perceptual Ability, Calculation Skills, Engineering Reading Ability, Engineering Problem Solving Ability
PAT 4 วัดศักยภาพทางสถาปัตยกรรมศาสตร์
เนื้อหา เช่น Architectural Math and Science ฯลฯ
ลักษณะข้อสอบ Space Relations, Multidimensional Perceptual Ability, Architectural Problem Solving Ability ฯลฯ

PAT 5 วัดศักยภาพทาง ครุศาสตร์/ ศึกษาศาสตร์
เนื้อหา ความรู้ในเนื้อหาภาษา ไทย คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ สังคม วิทยา มานุษยวิทยา สุขศึกษา ศิลปะ สิ่งแวดล้อม ฯลฯ
ลักษณะข้อสอบ ครุ ศึกษา (Pedagogy), ทักษะการอ่าน (Reading Skills),ความรู้ทั่วไปเกี่ยว กับการศึกษาของประเทศไทย การแก้ปัญหาที่เกิดจากนัก เรียน ครู ผู้บริหารโรงเรียน ฯลฯ
PAT 6 วัดศักยภาพทางศิลปกรรมศาสตร์
เนื้อหา เช่น ทฤษฎีศิลปะ (ทัศนศิลป์ ดนตรี นาฏศิลป์) ความรู้ทั่วไปทาง ศิลป์ ฯลฯ
ลักษณะข้อสอบ ความคิดสร้าง สรรค์ ฯลฯ
"อย่างไรก็ตาม มีข้อเรียกร้องจากสมาคมฝรั่งเศสที่เสนอขอให้ ทปอ.จัดสอบเรื่องภาษาที่ 2 ด้วย ได้แก่ ภาษาฝรั่งเศส เยอรมัน จีน และญี่ปุ่น เพื่อเป็นการวัดคุณภาพของเด็ก โดยจะขอให้เพิ่มเป็น PAT 7 และย่อยลงไปเป็น 7.1 , 7.2 ตามลำดับ แต่ ทปอ.เสนอว่าให้ทางสมาคมจัดสอบล่วงหน้าก่อนได้และให้กำหนดในเงื่อนไขแอดมิชชั่นว่าผู้ที่จะสอบในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องกับภาษาเหล่านี้จะต้องผ่านการสอนวัดความรู้ด้วย อย่างไรก็ตาม ถ้าหากมีการมาเพิ่มเป็น PAT 7 สทศ.ก็ต้องมาทำการทบทวน PAT ทั้ง 6 ใหม่ ซึ่งก็จะยุ่งยากอีก"ศ.ดร.อุทุมพร กล่าวและว่า สำหรับข้อสอบ PAT นั้นได้เชิญอาจารย์ทีเชี่ยวชาญในแต่ละด้านมาเป็นผู้ออกข้อสอบ โดย สทศ.จะอธิบายความต้องการ วัตถุประสงค์การออกให้ทราบ และเมื่ออาจารย์ออกข้อสอบเสร็จแล้วก้จะนำเข้าคลังข้อสอบในรอบแรกก่อนนำมาเข้ากระบวนการกลั่นกรองเพื่อเข้าคลังข้อสอบของ สทศ. ใหม่อีกครั้ง
2. ลักษณะข้อสอบ PAT จะเป็นปรนัย และอัตนัย
- คะแนนเต็มชุดละ 200 คะแนน เวลาสอบชุดละ 2 ชั่วโมง
- เน้นความซับ ซ้อน (Complexity) มากกว่า ความยาก
- มีการออกข้อสอบเก็บไว้ในคลังข้อ สอบ
3. จัดสอบเมื่อนักเรียนอยู่ชั้น ม.6 โดยจัดสอบปีละ 2 ครั้ง
- คะแนนใช้ได้ 2 ปี เลือกใช้คะแนนที่ดีที่ สุด
ขณะนี้ ทปอ.ได้มอบหมายให้ สทศ.เป็นผู้จัดสอบ GAT และ PAT ซึ่งในส่วนของ GAT มีการทดลองรูปแบบการสอบแล้ว โดยจะใช้การสอบทั้งแบบปรนัยและอัตนัย ใช้เวลา 3 ชั่วโมง 300 คะแนน โดยนักเรียนสามารถสอบได้ 2-3 ครั้ง และเลือกคะแนนสอบครั้งที่ดีที่สุดไปใช้ โดยคะแนนจะเก็บไว้ได้ 2 ปี แต่เด็กต้องเสียค่าใช้จ่ายในการสอบเอง ซึ่งคาดว่าจะเริ่มสอบได้ประมาณเดือนตุลาคม 2551 หรืออาจต้นปี 2552 เพื่อให้ใช้ทันแอดมิชชั่นปี 2553

ติดต่อรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่นี่


แกะ แพะ (GAT PAT) คืออะไร??? ตอนที่ 1 !

GAT ย่อมาจาก General Aptitude Test เป็นการทดสอบความถนัดทั่วไป เพื่อวัดศักยภาพของนักเรียนที่จะเรียนมหาวิทยาลัย โดยข้อสอบจะเน้นวิเคราะห์เป็นหลัก

เนื้อหา -> การอ่าน เขียน คิดวิเคาระห์และการแก้โจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์ 50% -> การสื่อสารด้วยภาษาอังกฤษ 50%
ลักษณะข้อสอบ GAT จะเป็นแบบปรนัยและอัตนัย -> คะแนน 300 คะแนน เวลาสอบ 3 ชั่วโมง -> ข้อสอบเน้น Content Free และ Fair -> เน้นความซับซ้อน (Complexity) มากกว่าความยาก -> มีการออกข้อสอบเก็บไว้เป็นคลังข้อสอบ
จัดสอบปีละ 3 ครั้ง (มีนาคม , กรกฎาคม, ตุลาคม ) -> คะแนนใช้ได้ 2 ปี เลือกใช้คะแนนที่ดีที่สุด (สอบได้ตั้งแต่ม.4)

===================================================
http://www.yenta4.com/webboard/upload_images/1196056_7038015.jpg

PAT ย่อมาจาก Professional Aptitude Test เป็นการสอบวัดความถนัดเฉพาะทางวิชาชีพ แบ่งเป็นทั้งหมด 6 ชุด ประกอบด้วย
PAT 1 วัดศักยภาพทางคณิตศาสตร์ -> เนื้อหา เช่น Algebra, Probability and Statistics, Conversion, Geometry, Trigonomentry, Calculus ฯลฯ -> ลัษณะข้อสอบ Perceptual Ability, Calculation skills, Quantitative Reasoning, Math Reading Skills
PAT 2 วัดศักยภาพทางวิทยาศาสตร์ -> เนื้อหา ชีววิทยา, เคมี, ฟิสิกส์, Earth Sciences, Environment, ICT ฯลฯ -> ลักษณะข้อสอบ Perceptual Ability, Sciences Reading Ability, Science Problem Solving Ability ฯลฯ
PAT 3 วัดศักยภาพทางวิศวกรรมศาสตร์ -> เนื้อหา เช่น Engineering Mathematics,Engineering Sciences, Life Sciences, IT ฯลฯ -> ลักษณะข้อสอบ Engineering Aptitude i.e. Multidimensional Preceptual Ability, Calculation Skills, Engineering Reading Ability, Engineering Problem Solving Ability
PAT 4 วัดศักยภาพทางสถาปัตยกรรมศาสตร์ -> เนื้อหา เช่น Architectural Math and Sciences ฯลฯ -> ลักษณะข้อสอบ Space Relations, Multidimensional Perceptual Ability, Architectural Problem Solving Ability
PAT 5 วัดศักยภาพทางครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ -> เนื้อหา เช่น ความรู้ในเนื้อหาภาษาไทย คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ สังคมวิทยา มานุษยวิทยา สุขศึกษา ศิลปะ สิ่งแวดล้อม ฯลฯ -> ลักษณะข้อสอบ ครุศาสตร์ (Pedagogy), ทักษะการอ่าน (Reading Skills), ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการศึกษาของประเทศไทย การแก้ปัญหาที่เกิดจากนักเรียน ครู ผู้บริหารโรงเรียน ฯลฯ
PAT 6 วัดศักยภาพทางศิลปกรรมศาสตร์ -> เนื้อหา เช่น ทฤษฎีศิลปะ (ทัศนศิลป์ ดนตรี นาฏศิลป์) ความรู้ทั่วไปทางศิลป์ ฯลฯ -> ลักษณะข้อสอบ ความคิดสร้างสรรค์ ฯลฯ
PAT 7 วัดศักยภาพทางภาษาต่างประเทศที่ 2 -> เนื้อหา จะเป็นพื้นฐานการเรียนต่อ เช่น Grammar, Vocabulary Culture, Pronunciation Functions -> ลักษณะข้อสอบ Paraphasing, Summarizing Applying Concepts and Principles, Problem Solving skills, Critical Thinking skills, Questioning skills, Analytical skills
ลักษณะข้อสอบ PAT - จะเป็นปรนัย และอัตนัย - เน้นความซับ ซ้อน (Complexity) มากกว่า ความยาก - มีการออกข้อสอบเก็บไว้ในคลังข้อ สอบ
จัดสอบ - เมื่อนักเรียนอยู่ชั้น ม.6 โดยจัดสอบปีละ 2 ครั้ง - คะแนนใช้ได้ 2 ปี เลือกใช้คะแนนที่ดีที่ สุด
================================================

Admission คืออะไร
Admission คือ ระบบกลางการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา ( Central University Admissions System: CUAS) หรือระบบแอดมิสชั่นส์กลาง ที่ใช้ทำการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาปีการศึกษา 2549 แทนระบบเอ็นทรานซ์ที่ใช้อยู่เดิม โดยมีองค์ประกอบเพื่อใช้เป็นเกณฑ์ในการพิจารณาคัดเลือกผู้สมัครเข้าศึกษาในมหาวิทยาลัยดังนี้
1. ผลการเรียนเฉลี่ยสะสมตลอดหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนปลาย หรือเทียบเท่า ( GPAX) ให้ค่าน้ำหนัก 10%2. ผลการเรียนเฉลี่ยสะสมตลอดหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนปลายตามกลุ่มสาระการเรียนรู้ (GPA) 3-5 กลุ่มจาก 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ โดยในปีการศึกษา 2549 ให้ค่าน้ำหนัก 20% ในปีการศึกษา 2550 ให้ค่าน้ำหนัก 30% และในปีการศึกษา 2551 ให้ค่าน้ำหนัก 40% 3. ผลการทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติขั้นพื้นฐาน ( Ordinary National Educational Test : O-NET) ประกอบด้วยกลุ่มสาระการเรียนรู้ 5 กลุ่มสาระการเรียนรู้ ได้แก่ ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม โดยในปีการศึกษา 2549 ให้ค่าน้ำหนักรวมไม่เกิน 35-70%, ในปีการศึกษา 2550 ให้ค่าน้ำหนักรวมไม่เกิน 30-60% และในปีการศึกษา 2551 ให้ค่าน้ำหนักรวมไม่เกิน 25-50% 4. ผลการทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติขั้นสูง ( Advanced National Educational Test : A-NET) และ/หรือวิชาเฉพาะไม่เกิน 3 วิชา โดยในปีการศึกษา 2549 ให้ค่าน้ำหนักรวมไม่เกิน 0-35%, ในปีการศึกษา 2550 ให้ค่าน้ำหนักรวมไม่เกิน 0-30% และในปีการศึกษา 2551 ให้ค่าน้ำหนักรวมไม่เกิน 0-25%
ทั้งนี้องค์ประกอบที่ 1 และ 2 จะต้องถ่วงน้ำหนักโดยผลสอบ O-NET เป็นรายบุคคลก่อนนำไปใช้ โดยสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติจะเป็นผู้จัดสอบ O-NET และ A-NET

================================================

จำนวนที่เปิดรับ 110,586 รับตรง = 66,317 Admission = 44,269
รับตรง = 60% ดังนั้น มาเตรียมความพร้อมก่อนสอบตรงดีกว่า
การเตรียมความพร้อมและเทคนิคในการสอบตรง
การสอบตรงในปัจจุบันประกอบด้วย 3 รูปแบบหลักแบบที่ 1 ผ่านคุณสมบัติ -> สอบข้อเขียน -> สอบสัมภาษณ์ + ดู Portfolioแบบที่ 2 ผ่านคุณสมบัติ -> สอบข้อเขียน + O-NET, A-NET -> สอบสัมภาษณ์ + ดู Portfolioแบบที่ 3 ผ่านคุณสมบัติ -> สอบสัมภาษณ์ + ดู Portfolio
คุณสมบัติ ในการสอบตรง มหาวิทยาลัยจะพิจารณานักเรียนที่มีคุณสมบัติและความสามารถตรงกับความต้องการของคณะหรือสาขาเพื่อที่นักเรียนจะประสบความสำเร็จในการเรียนและการทำงานต่อไป
การสอบข้อเขียน ข้อสอบในการสอบตรงของแต่ละมหาวิทยาลัยนั้นจะแตกต่างกันออกไปขึ้นอยู่กับว่าโครงการนั้นต้องการนักเรียนที่มีความสามารถด้านใด เช่น สอบตรงนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยก็จะต้องการนักเรียนที่มีความสนใจด้านกฎหมาย มีความสามารถในการจับใจความ
การสอบสัมภาษณ์ โดยส่วนมากจะเป็นลักษณะการสอบสัมภาษณ์ทางวิชาการและการสอบสัมภาษณ์เพื่อประเมินความพร้อมและความสนใจในคณะหรือสาขา ของมหาวิทยาลัยนั้นๆ การสอบสัมภาษณ์ทางวิชาการ จะเป็นการถามตอบเชิงวิชาการ ลักษณะข้อสอบเหมือนข้อสอบอัตนัยโดยข้อสอบจะเป็นเนื้อหาเกี่ยวกับพื้นฐานในการศึกษาต่อในระดับมหาวิทยาลัย ดังนั้น นักเรียนต้องเตรียมพร้อมโดยศึกษารายละเอียดรายวิชาที่ต้องเรียนของคณะหรือสาขานั้น การสอบสัมภาษณ์เพื่อประเมินความพร้อมความสนใจ จะเป็นการสอบเพื่อวัดความพร้อมและความสนใจของนักเรียนว่ามีความสนใจที่จะเข้าเรียนมากน้อยเพียงไร คำถามที่มักพบบ่อยเช่น "ทราบหรือไม่ว่าคณะนี้เรียนเกี่ยวกับอะไร?"
Portfolio อีกสิ่งหนึ่งที่สำคัญและนักเรียนจะต้องเตรียมไปในวันสอบสัมภาษณ์ คือ แฟ้มสะสมงานหรือ Portfolio ซึ่งจะเป็นส่วนช่วยให้คณะกรรมการพิจารณาคัดเลือกได้ง่ายขึ้น ที่สำคัญ "คุณภาพสำคัญกว่าปริมาณ" ต้องเป็นผลงานที่เกี่ยวข้องกับคณะหรือสาขาที่เรากำลังจะไปสัมภาษณ์จึงจะดีที่สุด

TearEX คืออะไร ?!?

TearEX (เทียร์ - เอ๊กซ์)คือ..
กลุ่มสมาชิกสหพันธ์การพัฒนาเทคโนโลยี และ กลุ่มนักเรียน แห่งประเทศไทย
ประวัติ
พ.ศ.2550 มีการจัดตั้ง TearEX ขึ้นเปลี่ยนจาก Logo Emperor มาเป็น TearX
พ.ศ.2551 เปลี่ยนแปลงใหม่เป็น TerEX เมื่อ พ.ศ.2551